การออกแบบลายผ้า



การออกแบบลายผ้าบาติก เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการทำผ้าบาติก ผ้าจะมีคุณค่ามีความสวยงาม มีราคาสูง ดูแล้วน่าใช้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการออกแบบลายที่มีลักษณะแตกต่างกัน มีเทคนิคในการผลิตซึ่งมี 2 ลักษณะคือ การออกบาติกแบบลายพิมพ์ และการออกแบบบาติกลายเขียน
            1. การออกแบบบาติกลายพิมพ์ คือ ลายที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถนำมาพิมพ์ต่อกันให้มีความต่อเนื่องกันระหว่างลายแต่ละชิ้น ลักษณะการจัดองค์ประกอบของลายพิมพ์นี้ควรให้ตัวลายอยู่ภายในโครงสร้างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่นิยมใช้กันทั่วไป มี 4 ชนิด คือ
แม่พิมพ์โลหะ เป็นแม่พิมพ์ลายเส้นที่แสดงรายละเอียดชัดเจน การออกแบบสำหรับการพิมพ์โดยทั่วไปมักจะออกเป็นชุดมีแม่พิมพ์ 2-3 อัน คือ แม่พิมพ์ลายเส้น แม่พิมพ์ปิด และแม่พิมพ์เก็บสีพื้นเพื่อย้อมสีที่ 2 ต่อไป
แม่พิมพ์ไม้ เป็นแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นๆไม่สามารถแสดงเรื่องราว และรายละเอียดลักษณะเป็นลายเส้นโตๆลายที่เกิดขึ้นจะได้สีขาว คือ เกิดจากรอยเทียนจาก แม่พิมพ์ และพื้นเป็นสีย้อม
แม่พิมพ์เชือก เป็นลวดลายที่ไม่มีรายละเอียดเป็นลักษณะลายเส้น เมื่อพิมพ์เทียนแล้วนำไปย้อม แล้วพิมพ์เทียนซ้ำเพื่อเก็บสีเดิมไว้ลักษณะลายจะแสดงให้เห็นลายพื้นของผิวแม่พิมพ์ (TEXTURE) จากรอยแม่พิมพ์เชือก
แม่พิมพ์พลาสติก ทำจากพลาสติกแผ่นบางใสสีเขียวฉลุลายพลาสติกให้สวยงามทำลวดลายบนผ้าเหมือนๆกันได้เป็นชุดหลายผืนอาจเรียกได้ว่า สเตลซิล แผ่นหนึ่งจะลงเทียนได้ 40 - 50 ครั้ง
            2. การออกแบบบาติกลายเขียน โดยส่วนใหญ่จะออกแบบลงบนกระดาษก่อนการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอสีเพื่อนำไปเขียนด้วยจันติ้ง บาติกลายเขียนนี้จะออกแบบลายเพียงครั้งเดียวไม่นิยมทำซ้ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละลาย ถ้ามีการทำซ้ำกัน จะทำให้คุณค่าของลวดลายนั้นลดลง การเขียนลายผู้เขียนสามารถเลือกขนาดของจันติ้ง ให้เหมาะกับจุดประสงค์ และต้องการของผู้ออกแบบเอง การออกแบบบาติกลายพิมพ์ และบาติกลายเขียน มี 4 ลักษณะดังนี้
ลายเรขาคณิต การออกลายเส้นรูปทรงเรขาคณิตนี้ ควรควบคู่ไปกับเทคนิคการย้อมสี และรอยแตกของเทียน เหมาะสำหรับงานจิตรกรรมเทคนิคบาติกเพื่อประดับผนัง
ลายดัดแปลงจากลายธรรมชาติ เป็นลวดลายที่มีความนุ่มนวลลักษณะลายที่มีการลื่นไหล
ลายไทย และลายเครือเถา นิยมเขียนบนผ้าไหม
ลายภาพสัตว์ มี 2 ลักษณะ คือ
รูปทรงไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ภาพฉากกั้นห้อง ลักษณะกึ่ง นามธรรม
ภาพสัตว์ที่เป็นเรื่องราว เช่น วรรณกรรม วรรณคดี มักใช้กับงาน จิตรกรรรม

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.