ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นการเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทําโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้
ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้สีติด ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอน
การปิดเทียน แต้มสี ระบายสี ย้อมสีนับเป็นสิบๆครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทําโดยการเขียนเทียน
หรือพิมพ์เทียนแล้วจึงนําไปย้อมสีที่ต้องการ
คําว่าบาติก (Batik) หรือปาเต๊ะ เดิมเป็นคําในภาษาชวาใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด
คําว่า “ติก”
มีความหมายว่าเล็กน้อยหรือจุดเล็กๆ มีความหมายเช่นเดียวกับคําว่า “ตริติก” หรือ ตาริติก ดังนั้น
คําว่าบาติกจึงมีความหมายว่า เป็นผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดๆด่างๆ
แหล่งกําเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีใน
อินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย อีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะ
ได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่กว่าในประเทศอื่นๆ ทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่น แต่บางคนก็ยัง
เชื่อว่าผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซียและยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียก วิธีการและขั้นตอนใน
การทําผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ ใช้ย้อมกันก็มาจากพืชที่มี ในอินโดนีเซีย และจาก
การศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นักประวัติศาตร์ชาวดัตซ์ก็สรุปไว้ว่า การทําโสร่งบาติกหรือโสร่ง
ปาเต๊ะ เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนติดต่อกับอินเดีย จากการศึกษาของ
บุคคลต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า วิธีการทําผ้าบาติกของอินโดนีเซีย ได้รับการเผยแพร่ไปยังชาติอื่นๆ ส่วน
การทําผ้าโสร่งบาติกนั้นคงมีกําเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอน
วิวัฒนาการการทําผ้าบาติกในอินโดนีเซียการทําผ้าบาติกในระยะแรกคงทํากันเฉพาะในหมู่คน
ชั้นสูงหรือทํากันเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ
ผู้ที่ทําผ้าบาติกมักจะเป็นผู้หญิง และทําหลังว่างจากการทํานา ในคริสต์ศตวรรษที่12 ประชาชนชวาได้
ปรับปรุงวิธีการทําผ้าบาติก แต่ทั้งนี้ก็มีวิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 3 การทํา
ผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน โดยมีสตรีในราชสํานักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “Kraton” เป็น
ผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือ แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้น การทําผ้าบาติกจึงได้แพร่หลายไปสู่
ประชาชนทั่วไป
ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่17 ได้มีการค้นพบสีอื่นๆอีกเช่น สีแดง
สีน้ําตาล สีเหลือง สีต่างๆเหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทําให้ออกเป็นสีต่างๆ
ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่นๆอีก ในระยะต่อมาปลายศตวรรษที่17 ได้มีการสั่งลินิล
สีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นความก้าวหน้าของการทําผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิค
การระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม
ในปี ค.ศ. 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวาและได้ส่งมาจําหน่ายที่เกาะชวา และในปี
ค.ศ. 1940 ชาวอังกฤษก็ได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจําหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่19 เป็นต้นมาได้มีการทําเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทําเป็นแม่พิมพ์
โลหะทองแดง ซึ่งเรียกว่า “จั๊บ” (Cap) ทําให้สามารถผลิตผ้าบาติกได้เร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลง ทดแทน
ผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทําผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ
อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทําผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่
เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียวเริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในการผลิตโดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการ
ย้อมสี ส่วนการแต้มสี ลวดลาย ยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม
ชนิดของเครื่องแต่งกาย
1. โสร่ง (saruang) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งในการพันรอบตัว
2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ผ้าทับ”
3. อุเด็ง (Udeng) เป็นผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้ โพกศีรษะ
การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้าแบบใหม่มองดู คล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (Silk screen) ซึ่งมีลักษณะลวดลาย คล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยม ชาวอินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง แต่มีราคาแพงกว่าบาติกที่
ใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทําผ้าบาติกนอกจากจะเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบันศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทําผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรมและเผยแพร่ไปยัง ศิลปินชาวยุโรปและสหรัฐอเมริกา
Post a Comment