ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์
การเตรียมผ้า
ควรเลือกผ้าให้เหมาะสม ผ้าที่ใช้ในการทำผ้าบาติก ได้แก่ ผ้าที่ทำจากธรรมชาติ ที่นิยมกัน คือ ฝ้าย ลินิน ปอ และผ้าไหม ผ้าที่นำมาทำนี้จะต้องไม่หนาเกินไป เพราะน้ำเทียนจะไม่สามารถซึมผ่านอีกด้านหนึ่งได้ และก่อนนำไปเขียนเทียนควรนำไปต้มด้วยน้ำด่างโชดาอ่อน เพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนผิวผ้า โดยใช้สารเคมีดังนี้
โซดาแอซ (ผงซักฟอก) 1 กรัม / ลิตร
โซดาไฟ 1 กรัม / ลิตร
สบู่เทียม (Wetting agent) 1 กรัม / ลิตร
จากนั้นจึงนำผ้าที่ผ่านการต้มแล้วไปเขียนเทียน และลงสีต่อไป
การเตรียมเทียนหรือผสมเทียน
เทียนที่ใช้ได้จากการผสมระหว่างขี้ผึ้ง (Wax) และ พาราฟิน(Paraffin) ในอัตราส่วน 1:1 หรือ 1:2 และไม่ควรเกิน 1:12 เพราะจะทำให้เทียนใสเกินไปไม่เกาะติดบนผ้า หรือบางครั้งอาจจะผสมยางสน หรือไขสัตว์ เพื่อช่วยให้เทียนแข็งและเปราะ
การเขียนหรือพิมพ์ลาย เป็นการปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด แล้วนำไปลงสีในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำผ้าบาติกการเขียนเทียนด้วยชันติ้งจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับงานบาติกลายเขียน จะได้เส้นเทียนที่มีขนาดเล็ก และสามารถเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก ส่วนการพิมพ์ลายจะเป็นวิธีที่ทำลายเทียนด้วยแม่พิมพ์ ลายที่ได้ค่อนข้างเป็นลายซ้ำ ๆ และมีลวดลายไม่ซับซ้อนมากนัก
การแต้มหรือระบายสี
ใช้สีผงที่เป็นสีสำเร็จรูปสำหรับบาติกโดยเฉพาะ 10 กรัม หรือ 2 1/2 ช้อนกาแฟเล็กกับน้ำต้มสุขประมาณ 8-10 ช้อนโต๊ะ ละลายให้เข้ากันนำไประบายได้ตามต้องการ
การเคลือบน้ำยา (โซเดียมซิลิเกต)
การเคลือบน้ำยาเพื่อเป็นการฟิกซ์ให้สีติดบนผืนผ้าอย่างถาวร โดยใช้ภู่กันทาหรือระบายให้ทั่วทิ้งไว้ 3-6 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย แล้วนำผ้าไปล้างนำยาออก
การลอกเทียนออกจากผ้า
ต้มนำให้เดือดใส่ผงซักฟอก ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 1 ลิตร นาน 30-40 นาที จะได้ผ้าบาติกที่คุณภาพดีสีไม่ตก
การตกแต่งผ้า เช่น แช่น้ำยากันสีตก ตกแต่งผิวผ้า การรีด การอัด
ขั้นตอนในการตกแต่งนี้ ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมบาติก เพื่อเป็นการดึงดูดใจลูกค้า ถ้าเป็นการทำผ้าบาติกงานฝีมือหรือในครัวเรือนใช้เพียงวิธีการรีดให้เรียบก็พอ
การทำผ้าบาติกเป็นการตกแต่งผ้าที่มีความเก่าแก่อีกวิธีหนึ่งแต่แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากที่ใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด โดยส่วนใหญ่มีการทำผ้าบาติกในกลุ่มของชาวชวาในประเทศอินโดยนีเซีย ทีมีเอกลักษณ์เฉพาะ และกรรมวิธีที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ผ้าบาติกที่ได้มีความสวยงามมากกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เป็นต้น รวมทั้งทางตอนใต้ของประเทศไทย ในปัจจุบันได้มีการทำผ้าบาติกเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการนำผ้าบาติกมาใช้ในวงการการตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งเป็นที่นิยมและต้องการของผู้สวมใส่ในปัจจุบัน
โดยทั่วไปกรรมวิธีในการทำผ้าบาติกไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งมีหลักการง่าย ๆ คือการเขียนเทียน แต้มหรือย้อมสี และลอกเทียนออกจากผ้า ทุกขั้นตอนในการทำจะต้องมี ความประณีต ละเอียด พิถีพิถัน จึงจะทำให้ผ้าบาติกดูมีความสวยงาม นอกจากนั้นยังรวมถึงความตั้งใจในการทำงานด้วย ผลงานที่สำเร็จออกมาจึงจะมีคุณภาพดี มีลักษณะเป็นงานด้านหัตถอุตสาหกรรม และเป็นงานด้านศิลปอยู่ในตัวด้วย
ในการทำผ้าบาติกนั้น นอกจากการออกแบบลวดลายที่มีความสำคัญแล้ว เครื่องมือ และ วัสดุอุปกรณ์ ก็จะต้องเตรียมให้พร้อมหลังจากที่ออกแบบลวดลายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าขาดวัสดุอุปกรณ์ในขั้นตอนใด อาจจะทำให้การทำงานที่ได้ดำเนินไปแล้วต้องหยุดลง เป็นผลทำให้งานชิ้นนั้นเสียหายได้ เมื่อเตรียมเครื่องมือที่ต้องใช้ในการทำผ้าบาติกแล้ว ก็ต้องนำผ้าที่ต้องการทำมาขึงกับกรอบไม้ให้ตึงพอสมควร เพื่อความสะดวกในการเขียนเทียน ระบายสี และนำไปผ่านขั้นตอนในการทำต่อไป
การหาซื้อผ้าบาติกมาใช้เอง หรือเก็บสะสม ควรสังเกตลวดลาย สีสัน ดอก การวางลาย การวางต่อลายบนผืนผ้า และขอบลายในแต่ละลาย ว่ามีลักษณะเหมาะสมหรือไม่ ผ้าบาติกที่ดีจะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ในแต่ละลายที่อาจจะคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน งานบาติกในสมัยนี้ มีวิวัฒนาการในการทำมากขึ้นมีเทคนิคที่ใช้ในการทำ อีกทั้งขั้นตอนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจึงทำให้มีความแตกต่างกันในตัวของลวดลายผ้า เทคนิคในการทำบาติกสมัยใหม่ที่นี้มีความสวยงามไม่น้อยไปกว่าการตกแต่งผ้าวิธีอื่น จึงควรที่จะศึกษาเทคนิคและวีธีการทำต่อไป
Post a Comment